อว.นำนวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศผลิตออกซิเจนมอบ ศบค. เพื่อรับมือโควิด-19


อว.นำนวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศผลิตออกซิเจนมอบ ศบค. เพื่อรับมือโควิด-19

ข่าวทั่วไทย

ไทยรัฐออนไลน์

16 พ.ค. 2564 14:11 น.

บันทึก
SHARE

กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ส่งมอบ “นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบผลิตออกซิเจน บวก-ลบ” นวัตกรรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินการ โดยสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อร่วมรับมือการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19

วันนี้ 16 พฤษาคม 2564 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ศาสตราจารย์ ดร. นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และนายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ส่งมอบ “นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบผลิตออกซิเจน บวก-ลบ” จำนวน 140 เครื่อง เพื่อสนับสนุนภารกิจของศูนย์บริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลและหน่วยงานส่วนหน้าที่ดูแลผู้ป่วยในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ณ ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร โดยมี พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาฯ สมช.ในฐานะประธานศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วย พ.ต.อ.อาริส คูประสิทธิรัตน์ ผกก.สภ.ท่ามะกา โรงพยาบาลกลาง โดย นางสาวอภิรดี สุนันทตานนท์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลกลาง และศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) โดยนางสาวอรุณี ทองดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เป็นผู้รับมอบนวัตกรรมฯ

ข่าวแนะนำ


ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล กล่าวว่า การแก้ปัญหาและรับมือ สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ถือเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ อว. มอบ วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารงานวิจัยของประเทศ (PMU) และศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 และ “นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบผลิตออกซิเจน บวก-ลบ” จะเป็นประโยชน์ในการร่วมดูแลและป้องกันผู้ปฏิบัติงานส่วนหน้าในการบริหารสถานการณ์โควิด-19

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ให้ความสำคัญต่อการนำงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องทางการแพทย์ สนับสนุน ป้องกัน และลดผลกระทบจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 มาร่วมบริหารสถานการณ์ การแพร่ระบาดและมาตรการป้องกันต่างๆ ของ ศบค. เพื่อช่วยส่งเสริมมาตรการภาครัฐและมาตรการสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมา วช. มีการบริหารทุนวิจัย และสนับสนุนงบประมาณพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 มาตั้งแต่ปี 2563 – ปัจจุบัน มีผลสำเร็จของงานวิจัยและนวัตกรรมทยอยส่งมอบให้แก่หน่วยงาน สถาบันการแพทย์ โรงพยาบาล ฯลฯ และมีนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์ในการบริหารสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (PAPRs), ชุดหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลมพร้อมชุดกรองอากาศ (PAPR), ระบบปัญญาประดิษฐ์ (ระบบเอไอ AiMASK) ในการประเมินการใส่หน้ากากอนามัย, นวัตกรรมเครื่องพ่นละอองนาโนน้ำยาฆ่าเชื้อ, นวัตกรรม “แพลตฟอร์มหุ่นยนต์สำหรับงานทางการแพทย์และผู้สูงอายุ”, หน้ากากอนามัยชนิด KN95, หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ทำจากซิลิโคน ชนิด N 99, และนวัตกรรมชุดที่นอนยางพารา


นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า นวัตกรรมเครื่องฟอกอากาศแบบผลิตออกซิเจน บวก-ลบ เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาทดสอบประสิทธิภาพขึ้น ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยเป็นเทคโนโลยีที่ใช้การปล่อยประจุไอออน 2 ชนิด คือ ออกซิเจนบวก และ ออกซิเจนลบ เพื่อจะไปทำปฏิกิริยากับเซลล์หรืออนุภาคต่างๆ ของไวรัสและแบคทีเรียในอากาศ นอกจากนี้นวัตกรรมดังกล่าวยังทำให้อากาศบริสุทธิ์ สะอาด ป้องกันเชื้อโรค โดยใช้เทคโนโลยี Bipolar Ionizer Technology (BIT) ระบบ Corona System ปล่อยโคโรน่าเพื่อแยกโมเลกุล ออกซิเจน ออกเป็นออกซิเจนบวกและลบไปรวมกับ ไอน้ำ (H2O) ในอากาศ เกิดกลายเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) และไฮดรอกไซด์ (OH) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งและทำลายเชื้อโรค ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติม…