“อริย์ธัช” จี้ รบ.ดูแลผู้ป่วยโควิด แนะ นำเทคโนฯ Wristband RFID มาใช้


"อริย์ธัช" จี้ รบ.ดูแลผู้ป่วยโควิด แนะ นำเทคโนฯ Wristband RFID มาใช้

ข่าวการเมือง

ไทยรัฐออนไลน์

10 เม.ย. 2564 15:25 น.

บันทึก
SHARE

“อริย์ธัช” ชี้ ถึงเวลา Test Kit รพ.สนามพร้อมเสนอนำเทคโนโลยี Wristband RFID ยับยั้งเชื้อโควิด-19 ระบุถ้ารัฐไม่ทำ กทม.ต้องกล้าดูแลคนกรุงเอง

เมื่อวันที่ 10 เม.ย.64 นายอริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์ ผู้สมัคร ส.ก.เขตสวนหลวง พรรคกล้า กล่าวว่า สถานการณ์โควิด- 19 วิกฤติขึ้นนทุกทีโดยเฉพาะในกรุงเทพ ขณะที่ความตื่นตัวของภาครัฐดูเหมือนจะปล่อยไหลไปตามสถานการณ์ไม่มีแผนยับยั้งก่อนจะบานปลาย ล่าสุดยังมีรายงานว่า โรงพยาบาลเอกชนเริ่มปฏิเสธการตรวจหาเชื้อ โดยชี้แจงว่าน้ำยาหมด แต่ความจริงคือไม่อยากรับภาระการรักษาฟรีเพราะจะได้เงินสนับสนุนไม่สอดคล้องกับต้นทุนจริง ขณะที่กลุ่มเสี่ยงก็อยากไปรักษากับเอกชน

“หากปล่อยสถานการณ์แบบนี้ต่อไปจะไม่ส่งผลดีต่อการควบคุมโรค ผมเคยพูดไปหลายครั้งแล้วว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการชะลอการระบาดจนกว่าจะฉีดวัคซีนได้มากพอจะเกิดภูมิคุ้มกันหมู่คือการรุกตรวจเพื่อคัดกรอง แยกผู้ติดเชื้อออกมาให้ได้เร็วที่สุด เพราะส่วนใหญ่อาจจะมีอาการไม่มากหรือไม่มีอาการก็ได้ แต่จำเป็นต้องกักตัวช่วงเวลาหนึ่งเพื่อหยุดยั้งการส่งต่อกระจายเชื้อ”

นายอริย์ธัช กล่าวต่อว่า เวลานี้นโยบายรัฐคือหากตรวจเจอเชื้อ ต้องนอนโรงพยาบาลเท่านั้น ทำให้อัตราการครองเตียงสูงและอาจเป็นภาระต่อโรงพยาบาลหรือระบบสุขภาพในภาพรวมได้ สิ่งที่ควรปรับแนวนโยบายคือ หากผู้ติดเชื้อมีอาการไม่มากและสามารถกักตัวที่บ้านได้ก็อาจอนุญาตกลับบ้าน แต่หากไม่แน่ใจว่าจะทำการกักตัวได้จริงหรือปัจจัยไม่เอื้อ การเตรียมพร้อมเรื่องโรงพยาบาลสนามเพื่อส่งต่อหลังตรวจเจอเชื้อในกรุงเทพควรจะมีขึ้นได้แล้ว และควรนำโมเดลอังกฤษมาใช้นั่นคือการสนับสนุนให้ประชาชนใช้ Self – Test Kit เพื่อตรวจหาเชื้อเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ การเตรียมการและลงทุนในทั้งสองเรื่องไม่ว่าการเตรียมโรงพยาบาลสนามในกรุงเทพให้พร้อมและ Self – Test Kit หากรัฐบาลกลางไม่ทำก็เป็นหน้าที่ของ กทม.ที่จะต้องทำเพื่อดูแลพี่น้องชาวกรุงเทพ

นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้มีการนำเอาเทคโนโลยีขั้นเข้ามาใช้ “Wristband RFID” ข้อมือติดตามและบันทึก ผ่านระบบRFID ซึ่งในปัจจุบันRFID เป็นเทคโนโลยีที่กำลังมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การประยุกต์เทคโนโลยี RFID มีรูปแบบหลากหลายด้วยจุดประสงค์ที่แตกต่างกันแต่อยู่บนหลักการพื้นฐานเดียวกัน นั่นคือการใช้คลื่นความถี่วิทยุเพื่อการระบุตัวตนของวัตถุหรือเจ้าของวัตถุที่ติดป้าย RFID แทนการระบุด้วยวิธีการอื่น ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่า สามารถอ่านและเขียนข้อมูลกลับลงไปยังแท็กได้ โดยสามารถใส่ข้อมูลอื่นๆ ทนต่อความเปียกชื้น สามารถอ่านค่าได้แม้ในขณะที่วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ และทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ ซึ่งเทคโนโลนีดังกล่าวตะช่วยติดตามหากผู้สวมใส่เดินทางไปยังสถานที่ที่มีการเสี่ยงการติดเชื้อเพื่อใช้ในการติดตามและควบคุมสถานการณ์อย่างเร่งด่วน 

ข่าวแนะนำ

“เนื่องจากด้วยสถานการณ์ปัจจุบันนี้ ระบบของ ‘ไทยชนะ’ ไม่สามารถรองรับสถานการณ์ได้ดีเพียงพอ และกระผมขอนำเสนอให้ท่านดำเนินการป้องกัน COVID-19 เชิงรุก ด้วยการติดฟิล์มทองแดง ทุกบริเวณจุดสัมผัสของหน่วยงานราชการและให้มีผลบังคับใช้กับสถานบันเทิงทุกประเภทและในรับมือเชิงรับ กระผมขอเสนอให้ท่านใช้ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Nano 9 ซึ่งมีความเหมาะสมต่อการใช้งานเพื่อจัดการเชื้อโรค ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าแอลกอฮอล์ และขอให้ท่านดำเนินการติดตั้งเครื่องพ่นล้างมือในทุกจุดของชุมชนที่สามารถพ่นน้ำยา Silver nano ได้ เพื่อเป็นการรับมือความวิบัติที่กำลังจะเกิดขึ้นกับชาวกรุงเทพมหานคร” นายอริย์ธัช กล่าว

อ่านเพิ่มเติม…