คนไทยยังขับรถแย่ ทำสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงโด่งนำอันดับ 1 ในเอเชียและอาเซียน


คนไทยยังขับรถแย่ ทำสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงโด่งนำอันดับ 1 ในเอเชียและอาเซียน

ข่าวยานยนต์

ไทยรัฐออนไลน์

13 เม.ย. 2564 14:00 น.

บันทึก
SHARE

นอสตร้า โลจิสติกส์ ชี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้จัดให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และสูงที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเอเชียและอาเซียน ปีละกว่า 22,491 ราย คิดเป็น 32.7 คนต่อประชากร 1 แสนคน โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม พบ 3 สาเหตุหลัก คือ 1) การชนทั่วไป 2) จากบุคคล เช่น การขับรถเร็ว ขับตัดหน้า 3) จากอุปกรณ์ เช่น ห้ามล้อขัดข้อง ย้ำผู้ใช้ถนนไม่ควรเพิกเฉย แนะใช้เทคโนโลยีเพิ่มความปลอดภัยการขับขี่ ด้วยระบบเทเลเมติกส์ ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ แจ้งเตือนความเสี่ยงขณะขับรถ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม หรือเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ได้ทันเวลา รวมทั้งตรวจเช็กสภาพรถก่อนใช้งาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ ป้องกันและลดการสูญเสียทั้งต่อชีวิตรวมทั้งทรัพย์สิน


ข่าวแนะนำ



วรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด เปิดเผยว่า จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2561 พบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก ปีละประมาณ 22,491 ราย คิดเป็น 32.7 คนต่อประชากร 1 แสนคน โดยเฉพาะช่วงเทศกาลอย่างเช่น ปีใหม่ หรือสงกรานต์ และแม้ว่าในปี 2563 ที่ผ่านมา สถานการณ์การบาดเจ็บและสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อยในภาพรวม จากอุบัติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ส่งผลให้ผู้ใช้รถใช้ถนนลดลง แต่พบว่าประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่มีผู้เสียชีวิตสูงที่สุดอันดับ 1 ในเอเชียและในภูมิภาคอาเซียน แนะผู้ขับขี่ไม่เพิกเฉย เร่งปรับพฤติกรรมการขับขี่ นำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มความปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุได้ทันท่วงที




แม้ว่าตัวเลขอุบัติเหตุมีแนวโน้มลดลงจากการใช้รถใช้ถนนที่ลดลง ด้วยสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 แต่ประเทศไทยยังคงน่าเป็นห่วงเนื่องจากสถิติอุบัติเหตุยังคงเกินค่าเฉลี่ยของโลกถึง 2 เท่า สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม พบ 3 สาเหตุหลักของอุบัติเหตุ คือ 1) การชนทั่วไป 2) เกิดจากบุคคล เช่น การขับรถเร็ว ขับรถตัดหน้า และ 3) เกิดจากอุปกรณ์ เช่น ห้ามล้อขัดข้อง ซึ่งจากสาเหตุดังกล่าว การนำเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่ จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น เช่น ระบบการป้องกันและแจ้งเตือนการขับขี่ที่เรียกว่า ระบบเทเลเมติกส์ (Telematics) ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ และแจ้งเตือนให้ผู้ขับขี่ได้ทราบถึงความเสี่ยงในขณะขับรถ ทำให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนพฤติกรรม หรือเพิ่มความระมัดระวังในการขับได้ทันเวลา เช่น ขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด ขับออกนอกเลน ขับรถจี้คันหน้ามากเกินไป การใช้กล้องตรวจจับการละสายตาจากการขับรถ อาการง่วง หลับใน หรือการใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ




ในด้านการบำรุงรักษา การตรวจเช็กสภาพก่อนใช้งานพาหนะ เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ขับขี่ ควรมีการตรวจเช็กสภาพก่อนใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีขององค์กรที่มีรถจำนวนมาก การดูแลรักษา หรือซ่อมบำรุง ถือได้ว่าเป็นการจัดการที่ซับซ้อนและควบคุมงบประมาณได้ลำบาก Maintenance Management System จึงเป็นเทคโนโลยีที่มาเป็นผู้ช่วยจัดการ ตั้งแต่การใช้ระบบ Digital Checklist การนัดหมายการเข้าซ่อม รวมถึงสรุปผลการซ่อมบำรุง และค่าใช้จ่ายของกลุ่มรถ เพื่อพิจารณาลดค่าใช้จ่าย หรือขายรถที่มีค่าซ่อมบำรุงไม่คุ้มค่าต่อการใช้งาน



นอสตร้า โลจิสติกส์ เพิ่มความปลอดภัยในการขับรถด้วยเทคโนโลยีเทเลเมติกส์ (Telematics) Internet of Things (IoT) และ Big Data Analytics เป็นโซลูชันการบริหารจัดการและติดตามงานขนส่งที่เกิดจากการบูรณาการร่วมกันระหว่างอุปกรณ์เทเลเมติกส์ที่ติดตั้งในรถและสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตแบบเรียลไทม์ พร้อมการแจ้งเตือน เก็บข้อมูล และตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ พร้อมรายงานประมวลผลและนำเสนอรายงาน Dashboard และ Score ที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานทราบและเข้าใจปัญหางานขนส่งของบริษัทได้ง่ายและเร็วขึ้น เสริมความปลอดภัยในการขับรถและทรัพย์สิน ลดต้นทุนการขนส่งจากค่าใช้จ่ายพลังงานเชื้อเพลิงสิ้นเปลือง จากพฤติกรรมการขับรถไม่ถูกต้อง และสามารถนำข้อมูลนี้มาปรับปรุงการขับรถเพื่อรักษาเครื่องยนต์ให้ใช้งานได้ยาวนาน ตลอดจนการเก็บข้อมูลการใช้รถเพื่อวางแผนการบำรุงรักษาได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังมีระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง (Maintenance Management System) เช็กสภาพยานพาหนะก่อนและหลังการขับขี่ สรุปผลการดำเนินงาน และค่าใช้จ่าย ผ่าน Maintenance Dashboard.

อาคม รวมสุวรรณ
E-Mail chang.arcom@thairath.co.th
Facebook https://www.facebook.com/chang.arcom
https://www.facebook.com/ARCOM-CHANG-Thairath-Online-525369247505358/

อ่านเพิ่มเติม…