ไรอัน ติง แห่งหัวเว่ย: สร้างคุณค่าใหม่ด้วย ICT เพื่อสิ่งแวดล้อม

ในวันที่สองของงานประชุม “Win-Win Huawei Innovation Week” นายไรอัน ติง กรรมการบริหารของหัวเว่ยและประธานกลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรคมนาคม ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในงานเปิดตัวโซลูชันการพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Development Solution Launch) โดยเน้นย้ำถึงผู้ให้บริการว่าจะต้องให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็นอันดับแรก และยังฝากถึงการสร้างระบบวัดประสิทธิภาพพลังงานที่เป็นมาตรฐานสำหรับใช้ในระดับอุตสาหกรรมระหว่างกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ “สร้างคุณค่าใหม่ด้วยเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อสิ่งแวดล้อม” “Green ICT for New Value”

นายติงกล่าวว่า “การพัฒนาแต่ละก้าวในประวัติศาสตร์ มาพร้อมกับประสิทธิภาพพลังงานในการโอนถ่ายข้อมูลที่ก้าวกระโดดเสมอ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สูงขึ้นจากการเคลื่อนที่ของข้อมูลปริมาณมหาศาล จะกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องได้รับการแก้ไขในช่วงห้าถึงสิบปีข้างหน้า การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานจึงเป็นหนทางแห่งอนาคต”

จากงานวิจัยบริษัทบุคคลที่สาม ทราฟฟิคของดาต้าที่มาจากการให้บริการด้านดิจิทัลจะเติบโตขึ้น 13 เท่าภายในปี พ.ศ. 2573 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2563 ซึ่งหมายความว่า หากไม่มีการพัฒนาประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงาน การใช้พลังงานของอุตสาหกรรมไอซีทีและการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นถึง 2.3 เท่า

ข้อมูลจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ระบุว่าอุตสาหกรรมไอซีทีจะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ อย่างน้อยร้อยละ 45 ภายในปี พ.ศ. 2573 ตามเป้าหมายของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ความตกลงปารีส ตามรายงานโดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติกว่า 120 ประเทศและภูมิภาค ตกลงที่จะตั้งเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไอซีทีเผชิญความท้าทายที่เกิดจากการพัฒนาและการลดการใช้พลังงานที่สวนทางกัน เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและการก่อสร้าง เขาได้กล่าวว่ากุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหานี้คือการหันมาพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ซึ่งรวมถึงการกักเก็บพลังงานและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโครงสร้างระบบไอซีทีของผู้ให้บริการ นอกจากนี้ เทคโนโลยีไอซีทีจะมีส่วนช่วยให้ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ นับหมื่นประเภท ซึ่งจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงสิบเท่า

นายติงกล่าวว่า “เรากำลังอยู่ในช่วงเวลาแห่งความท้าทายครั้งใหม่ เมื่อหลายอุตสาหกรรมเริ่มเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ความต้องการใช้ข้อมูลก็จะพุ่งสูงขึ้นตามไปด้วย และจะส่งผลให้เกิดการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระหว่างนี้ ทั่วโลกกำลังต่อสู่กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ อุตสาหกรรมไอซีทีจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ และสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนให้เกิดขึ้น”

การพัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการในสามด้านด้วยกัน ด้านแรกคือ การย้ายผู้ใช้งาน การอัพเกรดไซต์งาน และการลดการใช้พลังงานของเครือข่าย ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ด้านที่สอง ประสิทธิภาพของการใช้พลังงานที่ดีขึ้นจะช่วยผู้ใช้บริการ 2G และ 3G สามารถเปลี่ยนมาใช้บริการบนเทคโนโลยี 4G และ 5G ได้ ด้านที่สาม ความพยายามในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้ให้บริการจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

เพื่อให้ผู้ให้บริการไปถึงเป้าหมายเหล่านี้ได้ หัวเว่ยจึงนำเสนอโซลูชันสามขั้นตอน ไซต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เครือข่ายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นแรก ผู้ให้บริการได้พัฒนาโซลูชันเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน โดยเลือกดีไซน์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งใช้วัสดุใหม่ ย้ายอุปกรณ์หลักและอุปกรณ์จ่ายไฟไปไว้ภายนอกอาคาร ขั้นที่สอง โครงสร้างเครือข่ายพื้นฐานของบริษัทที่เรียบง่ายขึ้น ให้การส่งต่อที่รวดเร็วยิ่งขึ้น รองรับการสร้างเครือข่ายอัจฉริยะระบบออพติคัลพื้นฐาน และขั้นสุดท้าย ในส่วนของการปฏิบัติงาน หัวเว่ยได้มอบโซลูชันที่สร้างและกระจายนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เห็นภาพ รวมทั้งบริหารจัดการการใช้พลังงานได้ดียิ่งขึ้น

โดยที่ผ่านมา โซลูชันที่พัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้ได้รับการนำไปใช้งานในกว่า 100 ประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศเยอรมันนี โซลูชัน PowerStar จากหัวเว่ย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานแบบอัตโนมัติได้ในระดับนาทีต่อนาที ส่งผลให้ประหยัดพลังงานไปได้มาก ในประเทศสเปน โซลูชันการเชื่อมต่อข้ามสายด้วยแสง (OXC) จากหัวเว่ย ก็ได้รับการนำไปใช้งานเป็นพื้นฐานสำคัญของเครือข่ายลูกค้า ช่วยประหยัดพลังงานไปได้ร้อยละ 81 อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 29 ในประเทศตุรกี หัวเว่ยได้สร้างใช้งานโซลูชันเพื่อไซต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้ตู้แทนห้องเก็บอุปกรณ์ ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีห้องอุปกรณ์และเครื่องปรับอากาศอีกต่อไป โดยคาดว่าโซลูชันนี้จะช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 19,000 กิโลวัตต์ต่อชั่วโมง ต่อไซต์ ต่อปี ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ให้บริการทั่วโลกกำลังสร้างสถานี 5G กว่า 2.8 ล้านจุด ที่จำเป็นต้องใช้พลังงานในการทำงาน ผู้ให้บริการที่นำวิธีเพิ่มประสิทธิภาพสถานีขั้นสูงไปใช้ จะสามารถลดได้ทั้งค่าไฟในการให้บริการ และยังประหยัดพลังงาน รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย

“การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ” คือเชื้อเพลิงลำดับแรก องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ได้ให้ทางออกไว้แล้ว ประสิทธิภาพในการใช้พลังงานจะช่วยลดความสวนทางของความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น กับการพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกัน ประสิทธิภาพพลังงานจะช่วยส่งผลในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ของสังคมมนุษย์ได้ถึงร้อยละ 40 ในระยะเวลาสิบปีข้างหน้า

นายติงกล่าวว่า โซลูชันนี้ยังสามารถนำไปใช้กับผู้ให้บริการเครือข่ายได้อีกด้วย ดังนั้น การประหยัดพลังงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโครงสร้างไอซีที ยังอยู่ภายใต้แนวคิดที่ให้ความสำคัญต่อประสิทธิภาพพลังงานเป็นลำดับแรก แต่ด้วยการพัฒนาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การที่ผู้ให้บริการจะพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานของเครือข่ายไอซีทีจึงไม่ใช่เรื่องง่าย การปลดล็อคประสิทธิภาพพลังงานจึงกลายเป็นกุญแจสำคัญในการไปสู่การพัฒนาเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ให้บริการ

หัวเว่ยและผู้ให้บริการที่เป็นพาร์ทเนอร์กำลังร่วมมือกันเพื่อเพิ่ม “รอยฝ่ามือคาร์บอน” (carbon handprint) หรือเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เป็นปริมาณมากให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพผ่านโซลูชันไอทีซี ปริมาณก๊าซที่ลดลงอาจสูงถึงสิบเท่าของปริมาณก๊าซที่ปล่อยออกมา โดยมีตัวอย่างความสำเร็จจำนวนมากใน อุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สูง เช่น ท่าเรือ เหมืองถ่านหิน และเหล็ก เป็นต้น

ตัวอย่างเช่น ท่าเรือเทียนจิน ที่ใช้เทคโนโลยี 5G และระบบการขับเคลื่อนอัตโนมัติของประเทศจีน มีรถบรรทุกไร้คนขับ 76 คัน ปฏิบัติงานตามแบบแผนภายในไซต์งาน เมื่อนำไปเทียบกับการบังคับคอนเทนเนอร์เดี่ยวแบบเดิม มีการใช้พลังงานลดลงถึงร้อยละ 20 ค่าใช้จ่ายรวมในการปฏิบัติงานลดลงร้อยละ 10 และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 15

ในโลกของการทำเหมืองถ่านหินโดยใช้เทคโนโลยี 5G การจัดตารางด้วยคน ส่งผลให้ระยะเวลาการขนส่งยาวนาน และมีการสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็ว ทั้งยังส่งผลเสียต่อการกักเก็บพลังงาน รวมถึงการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยเทคโนโลยีไอซีทีเพื่อสิ่งแวดล้อมของบริษัท Unicom ประเทศจีน โดยคนงานสามารถควบคุมดูแลสภาวะถังเหล็กร้อนได้แบบเรียลไทม์ ลดระยะเวลาการขนส่งจากครึ่งชั่วโมง เหลือเพียง 7 นาที

นอกจากจะช่วยผู้ให้บริการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในหลากหลายภาคอุตสาหกรรมได้แล้ว หัวเว่ยซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานกว่า 200,000 คน รวมถึงโรงงานและอาคารสำนักงานอีกเป็นจำนวนมาก ยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

จากคำกล่าวของนายไรอัน ติง ในส่วนของสายงานผลิต แผงโซลาเซลล์ที่กระจายอยู่บนหลังคาของโรงงานหัวเว่ยที่ตั้งอยู่ทางใต้ในจังหวัดตงกว่าน สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 30,000 ตันต่อปี ในส่วนของการปฏิบัติงาน หัวเว่ยได้ปรับเปลี่ยนห้องแล็บเพื่อทำการวิจัยและพัฒนา จากห้องแล็บแบบเดิมที่กระจายตัว เป็นห้องแล็บแบบศูนย์รวมที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อประหยัดพลังงาน สามารถช่วยประหยัดไฟฟ้าได้ถึง 290 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี ศูนย์วิจัยหัวเว่ยในนครเฉิงตู สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้ถึงร้อยละร้อย โดยสร้างกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้สูงถึง 200 ล้านกิโลวัตต์ต่อปี เท่ากับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงปีละ 177,000 ตัน โดยเขายังทิ้งท้ายว่า “หัวเว่ยพร้อมที่จะทำงานร่วมกับผู้ให้บริการ เพื่อสร้างคุณค่าใหม่ด้วยไอซีทีเพื่อสิ่งแวดล้อม”

เทคโนโลยี 5G จะสร้างคุณค่ายิ่งกว่าปัจจุบันในช่วงสิบปีข้างหน้า และจะเป็นกุญแจสำคัญในการยกระดบประสบการณ์ชีวิต เปลี่ยนโฉมอุตสาหกรรม และจุดประกายให้กับสังคม โดยประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคทองแห่งความสำเร็จในด้าน 5G แล้ว ต่อไปนี้ เราพร้อมที่จะผลักดันนวัตกรรม 5G ไปอีกขั้น และส่งเสริมประเทศไทยไปสู่ผู้นำเทคโนโลยี 5G แห่งอาเซียน

ในยุคที่เศรษฐกิจดิจิทัลกำลังมาถึง หัวเว่ยมีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 23 ปีที่ผ่านมา ตามพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนช่วยเหลือประเทศไทย” โดยหัวเว่ยได้ร่วมมือกับลูกค้า พันธมิตรในอุตสาหกรรม และภาครัฐ เพื่อนำบริการด้านดิจิทัลสู่ประชาชนทุกคน ทุกครัวเรือน  และทุกองค์กร เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่ประเทศอัจฉริยะ คาร์บอนต่ำ และเชื่อมโยงถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ